ระบบสี CMYK ของหมึกซับลิเมชั่น คืออะไร ?
หลายท่านที่ใช้งานเครื่องพิมพ์หรือปริ้นเตอร์ในงานซับลิเมชั่น แน่นอนว่าต้องเคยไปเลือกซื้อหมึกซับลิเมชั่นหรือเปลี่ยนกันบ่อย ๆ ใช่ไหมค่ะ ^^ และเคยสงสัยไหมค่ะว่า “CMYK” คืออะไร วันนี้เราจะมาอธิบายกันว่า CMYK คืออะไรค่า
ระบบสี CMYK ของหมึกซับลิเมชั่น เป็นระบบสีที่หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าคือระบบสีที่ประกอบอยู่ในหมึกซับลิเมชั่น ประกอบไปด้วยสีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. C cyan (ฟ้าอมเขียว)
2. M magenta (แดงอมม่วง)
3. Y yellow (เหลือง)
4. K key (ดำ)
สีทั้ง 4 นี้เชื่อหรือไม่คะว่า เมื่อนำมาผสมกันตามแต่ละสี สลับไปสลับมา จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสีเลยล่ะค่ะ สามารถนำมาใช้ในการพิมพ์สีต่าง ๆ ในงานซับลิเมชั่น ซึ่งปกติการเลือกใช้สีนั้น จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบคือ CMYK และ RGB (Red, Green, Blue) ทั้ง 2 แบบนี้ สามารถแบ่งแยกประเภทการใช้งานได้ คือ ถ้าเป็นสีที่ต้องพิมพ์ออกมา ไม่ว่าจะพิมพ์ในรูปแบบใดก็ตาม จะต้องใช้ค่าสีของ CMYK แต่ถ้าต้องการสีที่แสดงผลออกทางหน้าจอ จะใช้ RGB เท่านั้น
ปัจจุบันหลักการดังกล่าวยังมีผู้มีความเข้าใจในส่วนนี้น้อยมาก เนื่องจากว่า นักออกแบบมือใหม่ เวลาต้องการจะทำงานประเภทสิ่งพิมพ์ รวมถึงงานซับลิเมชั่นในขั้นตอนการออกแบบ ก็มักตั้งค่าสีเป็น RGB เพราะว่าค่าสีดังกล่าวสีสดกว่า (เมื่อมองจากทางจอคอมพิวเตอร์) แต่เมื่อสั่งพิมพ์แล้ว ทำให้ค่าสีที่ออกมาผิดเพี้ยน มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสีที่เลือก เช่น เลือกสีแดง อาจจะได้สีชมพู เหลือสีม่วง อาจจะได้สีน้ำเงิน ดังนั้นผู้ที่ใช้โหมดสีควรจะทำความเข้าใจของงานให้มาก เพื่องานที่ออกมาจะได้ค่าสีที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากการกำหนดค่าสี RGB สามารถเลือกได้ถึง 2 สี – 16 ล้านสี (ข้อมูลอ้างอิงจากกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปี 2545) โดยการเข้ารหัสสี สามารถเลือกเฉดสีได้ด้วยลักษณะของชุดรหัสตัวเลข 0-9 และ A-F ปนกันไปจนครบ 6 ตัวอักษรเท่านั้น เช่น 000000 = สีดำ FFFFFF = สีขาว FF0000 = สีแดง ดังนั้น ผู้ใช้สี สามารถกำหนดสีได้ต่างๆ มากมาย โดยใช้ตัวอักษรปะปนกันไป เพราะสามารถสร้างรูปแบบหรือกำหนดสีได้มากกว่า 16 ล้านรูปแบบ เช่น AC01B22, 522AA6, F2D3A0 โดยชุดดังกล่าวจะเป็นสีต่างๆ เพียงแค่กฎการใช้ คือใช้ตัวเลขใด ๆ ก็ได้ 0-9 แต่ต้องไม่เกิน 6 ตัวอักษร แต่ถ้าจะมีอักษรภาษาอังกฤษผสมด้วย ก็สามารถเอามาใช้ได้ แต่จะเลือกใช้ได้ตั้งแต่ A, B, C, D, E และ F เท่านั้น (นับตั้งแต่ตัว G ขึ้นไปจะไม่สามารถประเมินผลได้)
ในส่วนของ CMYK จะใช้หลักการเลือกสีรูปแบบเดียวกับ RGB แต่ว่าค่าสีจะถูกตัดออกไปเป็นจำนวนเยอะมาก ทำให้มีค่าสีอยู่แค่หลักร้อย หรือ พันกว่าสีเท่านั้น โดยที่ค่าสีของ CMYK จะตัดค่าสีที่ตาเรามองไม่เห็น หรือไม่สามารถแยกแยะออกถึงความใกล้เคียงกันมาเกินไปได้ อย่างในกรณีของใบไม้ ที่เราอาจจะมองว่าเป็นสีเขียว แต่ถ้าจะให้ระบุสีในใบไม้เดียวกันให้ใกล้เคียงที่สุด อาจจะได้คำตอบที่เป็น สีเขียว, เขียวแก่, เขียวแก่กว่า, เขียวอ่อน, เขียวอมเหลือง ฯลฯ เพราะในสายตาคนเรามักจะมองรูปแบบสีหลักๆ เท่านั้น ดังนั้นปัญหาเรื่องของสีโหมด CMYK จึงจะตัดค่าสีที่ห่างกันไม่มากออกไปเพียงเท่านั้น ทั้งหมดนี้จึงเป็นคำตอบว่าเพราะอะไร เมื่อสั่งพิมพ์ภาพลงกระดาษทรานเฟอร์ในงานซับลิเมชั่น ด้วยการเลือกโหมดสีของขั้นตอนการออกแบบจากโปรแกรมในคอมพิวเตอร์เป็น CMYK แล้ว ทำให้ได้สีสันที่สดใส สมจริง และไม่ผิดเพี้ยน โดยเฉพาะเมื่อใช้หมึกซับลิเมชั่นคุณภาพดี ยิ่งทำให้งานที่ได้มีคุณภาพมากตามไปด้วย
ขอบคุณบทความบางส่วนจาก http://th.wikipedia.org