หลังจากที่เราได้แชร์เทคนิคงาน DIY ต่าง ๆ เกี่ยวกับ “ซับลิเมชั่น” ไปมากมาย ได้ร่วมแบ่งปั่นไอเดียพร้อมยกตัวอย่างเจ๋ง ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมแขนงนี้ให้เพื่อน ๆ ได้ลองนำไปปรับใช้หรืออาจต่อยอดเป็นธุรกิจโดยมีงานซับลิเมชั่นเป็นแม่ทัพของคุณ แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เรายังไม่เคยกล่าวถึง หรืออาจมีก็น่าจะแค่เฉียด ๆ และที่น่าสนใจกว่านั้น คือสิ่งนี้นั้นเกี่ยวข้องกับงานระดับโลก นั่นก็คือ “เสื้อกีฬา” หรือ “เสื้อบอล” นั่นเอง
เสื้อบอล หรือ เสื้อกีฬาประเภทต่าง ๆ ที่เราเห็นกันทั่วไปนั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้งานซับลิเมชั่นในการผลิต โดยมากจะเป็นการติดเฟล็กซ์ สกรีนโลโก้ต่าง ๆ ลงไปในเนื้อผ้ามากกว่า แต่มันไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีใครเขาทำกัน โดยเฉพาะตลาดเสื้อบอลเสื้อกีฬาในบ้านเรา การทำเสื้อด้วยการใช้เทคนิคซับลิเมชั่นกำลังเป็นที่นิยมกันมาก แต่หลายคนอาจจะไปรู้จักมักคุ้นกับคำว่า เสื้อพิมพ์ลาย เสียมากกว่า ซึ่งขอบอกตรงนี้เลยว่ามันคือแบบเดียวกัน !
เสื้อบอล เสื้อกีฬาทั่วไปมีหลัก ๆ กี่ประเภท?
หากคุณเป็นคนที่สะสมเสื้อบอลมาประมาณนึง หรืออาจจะเคยไปจับ ๆ ถูกตามห้างร้านต่าง ๆ ก็น่าจะพอทราบว่าเสื้อเหล่านั้นไม่ได้ใช้กระดาษซับลิเมชั่นเพื่อพิมพ์ลายด้วยเทคนิคซับลิเมชั่นที่ลงไปบนเนื้อผ้าแน่นอน
โดยเฉพาะหากเป็นเสื้อสโมสรดังระดับโลก อาทิ ลิเวอร์พูล แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เชลซี เรอัล มาดริด บาร์เซโลน่า หรืออีกมากมาย แทบจะเป็นงานปัก งานสกรีนกันเสียหมด ซึ่งหากให้ขยายความเจาะลึกไปกว่านั้น “เสื้อบอล” ที่วางขายทั่วไปจะมีแบบหลัก ๆ ด้วยกัน คือ แบบเกรดแฟนบอล และ เกรดนักเตะ
ที่เห็นกันบ่อยที่สุดเลยคือ “เกรดแฟนบอล” แบบนี้จะเป็นผ้าโพลีเอสเตอร์สำหรับทำเสื้อกีฬา แต่อาจจะไม่ได้ใช้เทคโนโลีหรือเทนิคขั้นสูงที่ส่งผลต่อความเบาบางมากนัก พวกตัวโลโก้สโมสรหรืออาจรวมถึงโลโก้แบรนด์จะเป็นการปักเย็บแบบที่ใช้อาร์ม ส่วนโลโก้สปอนเซอร์ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการสกรีนเฟล็กซ์
ส่วน “เกรดเพลเยอร์” ผ้าจะบียอนด์ไปอีกขั้น มีการใช้เทคโนโลยีและวัสดุชั้นสูงกว่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายระหว่างส่วมใส่ เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นในการสวมลงแข่งขัน พวกโลโก้ต่าง ๆ ที่อยู่บนเนื้อผ้าทั้งหมดจะเป็นการสกรีนเฟล็กซ์ชนิดพิเศษ เน้นการผลิตเพื่อให้เสื้อนั้นเบาบางที่สุด
แล้วเสื้อบอลพิมพ์ลาย (ซับลิเมชั่น) พิเศษกว่ายังไง?
จากที่เราได้จำแนกแยกแยะเสื้อบอลสองประเภทที่มีอยู่ในตลาดโลก ถ้าว่ากันด้วยเรื่องงบอย่างเดียวเสื้อเกรดแฟนบอลจะมีราคาถูกกว่า ส่วนเกรดแฟนบอลนั้นจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว ความแตกต่างก็เป็นเรื่องของดีเทลลายผ้า ความสบายในการใส่ลงแข่งขันและการสกรีนที่ส่งผลต่อน้ำหนักของตัวผ้า
แต่หากเป็นเสื้อบอลพิมพ์ลายที่ใช้เทคนิคซับลิเมชั่นในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นผ้ากีฬาแบบไหนเราก็สามารถการันตีเรื่องความเบาสบายในการสวมใส่ได้มากกว่า ต่อให้เทียบกับเกรดเพลเยอร์ก็ตาม เพราะลายต่าง ๆ บนเสื้อ ต่อให้คุณมีสปอนเซอร์สนับสนุนมากแค่ไหน ทั้งหมดจะอยู่บนลายผ้าทั้งหมด ไม่ต้องมีเฟล็กซ์ให้หนักเพิ่มแม้แต่อันเดียว!
ข้อดีของการทำเสื้อบอลด้วยซับลิเมชั่น
- ไม่จำกัดสี ไม่จำกัดลาย ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- สีสันสดใส เหมาะอย่างยิ่งการแก่ถ่ายภาพ
- ออกแบบลายที่ซับซ้อนได้อิสระ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
- ผ้ามีความนุ่ม ลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผ้า
- ลายบนผ้าไม่ซีดจาง ไม่แตก ไม่ลอก เหมือนแบบสกรีนด้วยเฟล็กซ์
- ตกยุคยาก รวมถึงการแก้ไขต่าง ๆ ทำได้โดยง่ายด้วการแก้ที่ไฟล์ออกแบบ
เจ๋งแค่ไหน หากทำเสื้อบอลด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น
แม้ว่าเรายังไม่เห็นสโมสรดังระดับโลกทีมไหนใช้เสื้อบอล เสื้อกีฬาที่ทำด้วยเทคนิคซับลิเมชั่นในการลงแข่งขันเกมอย่างเป็นทางการ แต่พวกเสื้อซ้อม เสื้อเทรนนิ่งที่อยู่ในสนามซ้อมก็มีให้เห็นประปราย
ส่วนในประเทศไทยนั้น หากคุณรู้จัก “บอลเดินสาย” ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันแบบไหนก็ตาม ทั้งสนามหญ้าจริง หญ้าเทียม และฟุตซอล ต่างเลือกใช้บริการเสื้อบอลพิมพ์ลายกันอย่างแพร่หลาย เหตุผลหลัก ๆ เลยคือพวกเขาสามารถยัดสปอนเซอร์ผู้ร่วมสนับสนุนพวกเขาลงไปได้หมดแบบไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะหากเป็นแบบเฟล็กซ์นั้นบานปลายแบบสุด ๆ ไปเลยล่ะ !