20/08/2023

EP. 2 เทคนิคไหนเหมาะกับ ธุรกิจสกรีนเสื้อ ของคุณ ? สกรีนปริ้น vs ซับลิเมชั่น vs ดิจิตอลปริ้นท์

ตอนที่ 2 ของ ซีรีส์บทความ เทคนิคไหนเหมาะกับธุรกิจสกรีนเสื้อของคุณ ? เราจะนำเสนอ 3 เทคนิคยอดนิยมที่มีคอมมูนิตี้เผยแพร่เทคนิคมากมายในแวดวงงานสกรีนคือ ประกอบไปด้วย การสกรีนปริ้น (Screen Printing) การทำซับลิเมชั่น (Sublimation) และ offset และเทคนิค ดิจิตอลปริ้นท์ (Digital Printing) สำหรับวันนี้ EP. 2 ถึงคิวที่เราจะมาต่อกันที่เทคนิคอื่น ๆ ที่เป็นทางเลือกอื่นที่น่าสนใจอย่าง ดิจิตอลปริ้นท์ (Digital Printing) อย่าง DTF และ DTG สำหรับในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ของคุณ อาจจะไม่ได้เหมาะกับเทคนิคซับลิเมชั่นที่เรานำเสนอไปแล้วใน ตอนที่ 1 หาดูได้เลยที่..

และข้อมูลต่อไปนี้คุณจะได้รับรู้ถึงวิธีการสกรีนเสื้อแบบ ดิจิตอลปริ้นท์ (Digital Printing) ที่ทันสมัย และเรียกได้ว่าตามเทรนด์ในยุคนี้ เพราะไม่ยุ่งยาก และยังได้งานคุณภาพ มีด้วยกันสองแบบที่นิยมในตอนนี้คือ DTF และ DTG ทั้งสองแบบหรือแบบไหนเหมาะสมกับแนวทางธุรกิจสกรีนเสื้อของคุณ แต่ละแบบคืออะไร มีเทคนิควิธีและวัสดุที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง เช่น เครื่องพิมพ์ กระดาษรองรีด เครื่องรีดร้อน หรืออื่น ๆ รวมไปถึง ข้อดี- ข้อเสียของวิธีนี้ เอาล่ะ ไปเริ่มกันเลย..

การพิมพ์เสื้อยืดด้วยเทคโนโลยี DTF และ DTG: วิธีง่ายๆ สำหรับผู้สนใจ

ถ้าคุณเคยสงสัยเกี่ยวกับการพิมพ์ลายหรือดีไซน์สวยงามลงบนเสื้อยืด และอยากทราบว่าเทคโนโลยี DTF และ DTG นั้นคืออะไร พร้อมวิธีการใช้งาน คุณมาถูกที่แล้ว! เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับทั้งสองเทคโนโลยีนี้กันเถอะ!

Digital Printing
Image by Freepik

ความหมายของ DTF Printing และ DTG Printing

DTF Printing (Direct-to-Film) หมายถึงกระบวนการพิมพ์ลายหรือดีไซน์โดยการนำหมึกพิมพ์พิเศษที่มีลักษณะเหมือนฟิล์มมาพ่นลงบนฟิล์มพิมพ์ แล้วนำฟิล์มนั้นมาแปะหรือเกาะลงบนผ้า เมื่อนำไปอบด้วยเครื่องอบควบคุมอุณหภูมิ หมึกพิมพ์จะถูกยับยั้งบนผ้าเสื้อ และเกาะอยู่ที่นั้น

DTG Printing (Direct-to-Garment) เป็นกระบวนการพิมพ์ที่ใช้เครื่องพิมพ์พิเศษที่สามารถพิมพ์ลายหรือดีไซน์ลงบนผ้าเสื้อโดยตรง คล้ายกับเครื่องพิมพ์เลเซอร์สี ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่สวยงามและมีความละเอียดสูง

กระบวนการ DTF Printing

  1. เตรียมไฟล์ดีไซน์: ใช้โปรแกรมกราฟิกในการสร้างดีไซน์หรือลายที่ต้องการพิมพ์ แน่นอนว่าขนาดและความละเอียดของไฟล์ต้องเหมาะสมกับเสื้อที่คุณจะพิมพ์
  2. พิมพ์ลายบนฟิล์ม: ใช้เครื่องพิมพ์พิเศษพิมพ์ลายลงบนฟิล์มพิมพ์ ที่มีหมึกพิมพ์ที่เหมาะสม
  3. การทำความร้อนและการเกาะ: นำฟิล์มที่พิมพ์แล้วมาเกาะหรือแปะลงบนเสื้อ จากนั้นนำไปอบด้วยเครื่องอบที่ควบคุมอุณหภูมิและเวลา ทำให้หมึกพิมพ์เกาะที่ผ้าเสื้อ
  4. การเตรียมใช้งาน: เมื่อหมึกพิมพ์เกาะที่ผ้าเสื้อแล้ว คุณสามารถสวมใส่เสื้อได้ทันที

กระบวนการ DTG Printing

  1. เตรียมไฟล์ดีไซน์: เช่นเดียวกับ DTF Printing ใช้โปรแกรมกราฟิกในการสร้างดีไซน์หรือลายที่ต้องการพิมพ์
  2. พิมพ์ลายบนเสื้อ: ใช้เครื่องพิมพ์ DTG ในการพิมพ์ลายลงบนผ้าเสื้อโดยตรง มักมีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ลายหรือดีไซน์เกิดความคมชัดและสวยงาม
  3. การทำความร้อนและการแห้ง: นำผ้าเสื้อที่พิมพ์ลายเสร็จแล้วนำไปอบด้วยเครื่องอบเพื่อให้หมึกพิมพ์แห้งและยับยั้งอยู่ที่ผ้าเสื้อ
  4. การเตรียมใช้งาน: เมื่อผ้าเสื้อแห้งแล้ว คุณสามารถสวมใส่ได้ทันที

DTF vs DTG

ไม่ว่าจะเลือก DTF Printing หรือ DTG Printing ทั้งสองวิธีนี้เพื่อพิมพ์ลายหรือดีไซน์บนเสื้อยืด คุณจะได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงามและสมบูรณ์แบบตามที่คุณต้องการ อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตหรือคู่มือการใช้งานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

Digital Printing
Image by usertrmk on Freepik

วัสดุที่ต้องใช้สำหรับการพิมพ์ด้วยเทคโนโลยี DTF:

  1. เครื่องพิมพ์ DTF: เครื่องพิมพ์ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในกระบวนการ DTF printing โดยสามารถรับมือกับหมึกและฟิล์มที่ใช้ในกระบวนการได้
  2. หมึก DTF: หมึก DTF คุณภาพสูงที่เข้ากันได้กับเครื่องพิมพ์ DTF ของคุณ เป็นหมึกที่ออกสู่ผ้าได้ในกระบวนการเครื่องอบควบคุมอุณหภูมิ
  3. ฟิล์ม DTF: ฟิล์ม DTF ที่เฉพาะเจาะจงมาใช้เป็นตัวพกพาหมึก หมึกจะถูกพิมพ์ลงบนฟิล์มและฟิล์มจะถูกแปะลงบนผ้าด้วยเครื่องอบควบคุมอุณหภูมิ
  4. สารก่อนพิมพ์ (Pre-Treatment Solution): สารก่อนพิมพ์ที่ใช้ทาลงผ้าก่อนการพิมพ์เพื่อเพิ่มความยึดเหนียวและความสดใสให้กับหมึก ช่วยให้หมึกยึดเนื้อผ้าได้ดีมากขึ้น
  5. เครื่องอบควบคุมอุณหภูมิ (Heat Press Machine): เครื่องอบควบคุมอุณหภูมิที่ใช้ในกระบวนการแปะฟิล์ม DTF ลงบนผ้า สร้างความร้อนและแรงดันเพื่อให้หมึกยึดเนื้อผ้าได้เหมาะสม
  6. เทปกันรั้ว (Masking Tape): เทปกันรั้วที่ใช้เพื่อยึดฟิล์ม DTF ลงบนผ้าก่อนการอบ
  7. กระดาษปล่อย (Release Paper): กระดาษปล่อยที่วางไว้ระหว่างแผ่นรองความร้อนและฟิล์ม DTF เพื่อป้องกันไม่ให้หมึกยึดกับแผ่นรองความร้อน
  8. แปรงหรือกันรอย (Brush or Roller): แปรงหรือกันรอยที่ใช้ทาสารก่อนพิมพ์ลงผ้าอย่างสม่ำเสมอ
  9. เครื่องอบหรือเครื่องอบควบคุมอุณหภูมิ (Curing Oven or Heat Press): หลังจากที่ฟิล์มถูกแปะลงบนผ้าแล้ว คุณอาจจะต้องใช้เครื่องอบหรือเครื่องอบควบคุมอุณหภูมิเพื่อประสานและยึดหมึกลงบนผ้าให้แข็งแรง

วัสดุที่ต้องใช้สำหรับการพิมพ์ด้วยเทคโนโลยี DTG:

  1. เครื่องพิมพ์ DTG: เครื่องพิมพ์โดยตรงบนผ้าที่ออกแบบมาเพื่อพิมพ์ลงผ้า ควรเข้ากันได้กับประเภทผ้าที่คุณใช้
  2. หมึก DTG: หมึกพิมพ์เฉพาะสำหรับเทคโนโลยี DTG ออกแบบมาเพื่อยึดผ้าและให้สีสันสดใส
  3. สารก่อนพิมพ์ (Pretreatment Solution): เหมือนกับกระบวนการ DTF การทาสารก่อนพิมพ์ที่ใช้เพื่อเตรียมผ้าก่อนการพิมพ์ ช่วยให้หมึกยึดเนื้อผ้าได้ดีและสีสันสดใส
  4. เครื่องอบควบคุมอุณหภูมิ (Heat Press Machine): บางเครื่องพิมพ์ DTG อาจต้องใช้เครื่องอบควบคุมอุณหภูมิเพื่อประสานหมึกให้แข็งแรงบนผ้าหลังจากการพิมพ์เพื่อให้หมึกยึดกับผ้าได้อย่างแน่นหนาและคงทนในระหว่างการซัก
  5. เครื่องควบคุมความชื้น (Humidifier): บางสภาพแวดล้อมอาจมีการควบคุมความชื้นเพื่อรักษาระดับความชื้นที่เหมาะสม ซึ่งสามารถช่วยเพิ่มการดูดซึมหมึกเข้ากับผ้าได้
  6. แผ่นรองผ้า (Textile Platens): เป็นชิ้นส่วนแนบพิเศษสำหรับเครื่องพิมพ์ DTG ที่ช่วยยึดผ้าให้เหนือหน้าเครื่องพิมพ์ เพื่อให้ผ้าคงความราบและตึงเพื่อให้การพิมพ์เป็นไปอย่างแม่นยำ
  7. อุปกรณ์ทำความสะอาด: การทำความสะอาดและการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์ DTG เป็นสิ่งสำคัญ อาจจำเป็นต้องใช้น้ำยาทำความสะอาด สว็อบ และผ้าไม่เป่าใช้
  8. เครื่องอบหรือเครื่องอบควบคุมอุณหภูมิ (Curing Oven or Heat Press) (ตัวเลือก): ขึ้นอยู่กับชนิดของหมึกและผ้าที่ใช้ เครื่องอบหรือเครื่องอบควบคุมอุณหภูมิอาจจะต้องใช้หลังจากการพิมพ์เพื่อประสานหมึกให้แข็งแรงบนผ้า

โปรดจำไว้ว่าวัสดุที่คุณต้องใช้สามารถแตกต่างกันไปตามแบรนด์และโมเดลของเครื่องพิมพ์ที่คุณใช้ ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตและคู่มือการใช้งานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

Digital Printing
Image by vecstock on Freepik

สรุป Digital Printing ดีหรือไม่

การพิมพ์เสื้อยืดด้วยเทคโนโลยี DTF และ DTG คือวิธีที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างเสื้อยืดที่มีลายหรือดีไซน์ที่สวยงามและพิเศษ ทั้งสองเทคโนโลยีนี้มีขั้นตอนง่ายๆ ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาและทดลองกับวัตถุอย่างหลากหลายก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของคุณและมีคุณภาพสูงสุด อย่างสำคัญอย่าลืมเพลิดเพลินกับกระบวนการสร้างสรรค์และกลายเป็นนักออกแบบเสื้อยืดที่เก่งได้เอง!

Credit Cover Image : Image by rawpixel.com on Freepik

กระดาษรองรีด, สาระทั่วไป, เครื่องรีดร้อน
04/11/2021

ซับลิเมชั่น กับ “คีย์แคป” เพิ่มความยูนีคให้กับคีย์บอร์ด “ต๊าซซซ” ไม่แพ้ใคร

ณ ตอนนี้ หากใครหลงเข้าไปอยู่ในกลุ่ม “จัดโต๊ะคอม” บนเฟซบุคล่ะก็.. เชื่อได้เลยว่าไอเทมที่ดูเด่นเป็นสง่า กระแทกตากระแทกใจจนให้เราต้องซูมดู “แมคคานิคอลคีย์บอร์ด” ก็น่าจะเป็นหนึ่งในไอเทมอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ ทำเอาหลายคนต้องตามไปค้นหาต่อว่าบรรดาคีย์บอร์ดส่วน ๆ นั้นยี่ห้ออะไร หากหาได้ทั่วไปตามแบรนด์ต่าง ๆ ถือเป็นเรื่องดี แต่ถ้าดันไป “เจอตอ” เป็นพวก “คัสตอมคีย์บอร์ด” ของเหล่าสายลึก อันนี้บอกเลยต้องคุยกันยาว

ที่ต้องเกริ่นมาก่อนซะขนาดนี้ คือเราจะบอกว่าวัสดุสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นหน้าเป็นตา สิ่งที่จะทำให้แมคคานิคอลคีย์บอร์ดของคุณดูสวยงาม หล่อเหลา ดูคูลดูเท่ขึ้นมาแบบเห็นได้ชัด ก็ต้องเป็น “คีย์แคป” หรือที่เรียกภาษาบ้าน ๆ ว่าไอเจ้าปุ่มที่อยู่บนแป้นพิมพ์นั่นแหละ

คีย์แคป Dye-Sub

โดยวัสดุนี้ก็มีหลากหลายแบบ หลากหลายโปรไฟล์ แต่ถ้าจะให้เราพาลงลึกกลัวว่าเนื้อหาวันนี้มันจะไม่พอน่ะสิ เอาเป็นว่าวันนี้ เรามีวิธีช่วยให้คีย์บอร์ดของคุณมีความ “ยูนีค” ไม่เหมือนใคร ด้วยเทคนิคงานซับลิเมชั่น รังสรรค์ผ่านลวดลายต่าง ๆ ที่คุณต้องการลงบนคีย์แคป หรือที่ในวงการเรียกว่า “คีย์แคป Dye-Sub” ส่วนวิธีทำจะเป็นอย่างไรนั้น เลื่อนลงไปทัศนากันได้เลย…

สร้างลวดลายบนคีย์แคป (Keycaps) ด้วยเทคนิคงานซับลิเมชั่น

สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการแมคคานิคอลคีย์บอร์ด เราขอเกริ่นสั้น ๆ เกี่ยวกับเรื่องของ “ราคาคีย์แคป” หากเป็นแบรนด์ดังที่ทำเกี่ยวกับสิ่งนี้โดยตรงขายกันเป็นเซ็ตมีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักหมื่น ใช่! คุณอ่านกันไม่ผิดหรอก คีย์แคปมีราคาสูงถึงหลักหมื่น หากไม่เชื่อเราลองเซิร์ชว่า “GMK Keycaps” เอาแค่พวกของทำเลียนแบบยังราคาเป็นพัน ซึ่งคุณไม่จำเป็นต้องรีบไต่ไปถึงระดับนั้นเลยหากมี “ไอเดีย” พร้อมที่สร้างลวดลายในสไตล์ที่เป็นคุณลงบนคีย์แคป

งั้นก่อนที่จะไปดูวิธีทำที่เราไปเสาะหามาให้จาก Youtuber นามว่า DIY NINJA เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าคุณจำเป็นต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้างที่จะสร้างชิ้นงานสุดพิเศษออกมาให้เป็นจริงได้ตามเช็คลิสต์ด้านล่างนี้

คีย์แคป Dye-Sub

อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องมี

  • เครื่องพิมพ์แบบ Dye Sublimation
  • เครื่องรีดร้อนแบบ 3D (ใช้งานง่าย ตรงกับลักษณะงานที่สุด)
  • กระดาษทรานเฟอร์ หรือ กระดาษซับลิเมชั่น และ หมึกซับลิเมชั่น
  • แผ่นซิลิโคนแมท สำหรับรองอบและรีด (Silicone Mat)
  • คีย์แคปเปล่า (Keycaps Blank) *** เลือกแบบและโปรไฟล์ที่คุณต้องการได้เลย***

วิธีทำคีย์แคปด้วยงานซับลิเมชั่น

  1. เมื่อคุณเตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างพร้อมลุยแล้ว ก่อนอื่นเลยให้คุณหาลวดลายที่ต้องการที่สำคัญอย่าลืมวัดขนาดคีย์แคปกับลายของคุณให้พอดีกัน จากนั้นจัดการปรินท์ด้วย เครื่องพิมพ์แบบ Dye Sublimation ลงกระดาษซับลิเมชั่น หรือ กระดาษทรานเฟอร์
  2. นำกระดาษที่ปรินท์ออกมาแล้วตัดให้พอดีกับคีย์แคป แล้ววางลงไปบนปุ่มด้วยการเอาด้านรูปคว่ำลงไป ตามด้วยนำแผ่นซิลิโคนแมทวางทับอีกที
  3. ก่อนนำเครื่องรีดร้อนแบบ 3D ลงไปกดทับ ควรตั้งค่าความร้อนที่ประมาณ 400 องศาฟาเรนไฮต์ (205 องศาเซลเซียส) ส่วนระยะเวลาอยู่ที่ 50-60 วินาที
  4. นำเครื่องรีดลงไปวางทับบนซิลิโคนแมทที่เรารองตัวกระดาษกับคีย์แคปเอาไว้ รอจนถึงเวลาเครื่องแจ้งเตือน
  5. ตรวจเช็คความเรียบร้อยของลวดลายว่าติดดีหรือไม่ หากลายไม่ชัดให้เพิ่มระยะเวลา ส่วนความร้อนตั้งค่าเท่าเดิม
คีย์แคป Dye-Sub

ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายจำเป็นต้องระมัดระวังพอสมควร เนื่องจากตัวซิลิโคนแมทนั้นจะยังร้อนอยู่ ควรรอสักพักหรือหาผ้ามารองก่อนจับ เพียงแค่ 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ตามที่เราได้นำเสนอไป คุณก็จะได้ลายคีย์แคป Dye-Sub ในแบบที่คุณต้องการแล้ว!

คีย์แคป Dye-Sub

ส่วนใครที่อยากดูว่าวิธีทำแบบเต็ม ๆ รวมถึงการลองผิดลองถูกในช่วงแรกต้องเจอกับอะไรบ้าง เดี๋ยวเราจะแนบลิงค์เอาไว้ทายบทความให้ตามไปเสพย์กันแบบเต็ม ๆ เป็นคู่มือ ฟีลแบบทำไปพร้อม ๆ กันกับเพื่อนอะไรแบบนี้เลย

คีย์แคป Dye-Sub

นี่ก็เป็นเพียงวิธีเบสิคที่เริ่มต้นได้ง่ายที่สุดสำหรับการใช้เทคนิคซับลิเมชั่นสำหรับสร้างลวดลายลงบนคีย์แคป หากคุณฝีมือแก่กล้ามากขึ้น สามารถทำเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่ยากมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามไอเดียที่คุณอยากจะรังสรรค์ได้แบบไม่มีสิ้นสุด นอกจากจะได้หน้าตาคีย์บอร์ดที่ไม่ซ้ำใครแล้ว หากต้องการต่อยอดเป็นธุรกิจ.. รับรองว่าการรู้ขั้นตอนพื้นฐานเริ่มต้นผ่านเนื้อหาวันนี้จะมีประโยชน์ต่อคุณแน่นอน ลองดูได้เลย!

ขอขอบคุณเทคนิคดี ๆ จากช่อง DIY NINJA บน Youtube

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น, สาระทั่วไป, หมึกซับลิเมชั่น, เครื่องรีดร้อน
02/09/2021

ไม่ยากอย่างที่คิด…เริ่มต้นธุรกิจงานซับลิเมชั่น ด้วยเครื่องรีดร้อนชุดเริ่มต้น

ในสภาวะเศรษฐกิจแบบที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่ปัจจุบันนี้ การเริ่มต้นธุรกิจอะไรสักหนึ่งอย่างต้องใช้เงินทุนมากพอสมควรเลยใช่มั้ยล่ะ.. แต่สำหรับงานดีไซน์ งานศิลปะต่าง ๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแฟชั่นลวดลายเสื้อผ้า ลายแก้ว ตลอดจนถึงลายบนเคสมือถือต่าง ๆ เราได้แนะนำเทคนิคการ D.I.Y เอาไว้มากมายให้ทุกคนได้ลองนำไปใช้ จะเพื่อเอาไว้ใช้เองเริ่ด ๆ หรือจะทำขายเป็นรายได้พิเศษในช่วงนี้ แม้แต่การคิดการใหญ่เป็นเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าที่คุณสามารถดีไซน์ลวดลายต่าง ๆ ได้อย่างอิสระด้วยไอเดียของคุณ..

ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานสกรีนขนาดใหญ่ ไม่จำเป็นต้องมีทีมงาน มีเพียงไอเดีย + สองมือของคุณ และเทคนิคการสกรีนเสื้อแบบซับลิเมชั่นที่คุณไม่ต้องไปหาจากไหน ที่นี่มีรวบรวมเอาไว้เพียบให้คุณได้เลือกหยิบใช้ตามความถนัด ฟิวชั่นกับอุปกรณ์ชุดเริ่มต้นธุรกิจที่ไม่ได้ใช้เงินมากมายอย่างที่คิด หากคุณอยากสร้างแบรนด์เสื้อผ้า แก้วน้ำ เคสมือถือ ด้วยตัวเองล่ะก็ มั่นใจได้เลยว่าไอเดียที่เราจะมานำเสนอในวันนี้จะช่วยคุณลดต้นทุน คุ้มค่ากว่าการไปรับมือขายต่ออีกที แถมยังได้เพิ่มมูลค่าของสินค้าด้วยลวดลายที่มีความยูนีคในแบบฉบับของคุณแบบไร้ขีดจำกัดอีกด้วย

เตรียมตัวอย่างไร หากมีไอเดียแล้วต้องการเริ่มแบรนด์ด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น?

ก่อนอื่นเลย หากคุณกลัวว่าสิ่งที่คุณจะทำขายนั้นจะละเมิดลิขสิทธิ์หรือเปล่า ก็อาจต้องเช็คนิดนึงในเรื่องของลวดลายต่าง ๆ ที่คุณได้หาเอาไว้ แต่หากคุณมั่นใจว่าทุกแบบ ทุกดีไซน์ นั้นล้วนเกิดขึ้นจากไอเดียของคุณล่ะก็ ไอเดียเริ่มต้นธุรกิจวันนี้นั้นเหมาะสำหรับคุณอย่างมาก เพราะคุณสามารถทำที่บ้านได้ทันที เพียงมีอุปกรณ์ชุดเริ่มต้นธุรกิจสำหรับงาน “ซับลิเมชั่น” ซึ่งประกอบด้วย ดังนี้

อุปกรณ์เริ่มต้นธุรกิจซับลิเมชั่นที่ใช้ได้ทันที

  • เครื่องรีดร้อน (เครื่องสกรีนที่สามารถรองรับขนาด A3+)
  • เครื่องปรินท์ที่รองรับหมึกซับลิเมชั่น
  • หมึกซับลิเมชั่น
  • กระดาษซับลิเมชั่นขนาดต่าง ๆ ที่เหมาะกับงานของคุณ

โดยสำหรับเครื่องสกรีนนั้นจริง ๆ แล้วแต่งบที่คุณได้วางไว้เลย ปัจจุบันมีทั้งเครื่องสกรีนที่ออกแบบมาสำหรับใช้ปรินท์งานสกรีนแก้วโดยเฉพาะ ไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคอะไรยุ่งยากคุณก็สามารถทำได้ทีละจำนวนมาก ๆ ตามกำลังผลิตที่เหมาะสมได้สะดวกกว่าที่ต้องมาประยุกต์จะเครื่องรีดร้อนปกติเลยด้วยซ้ำ

ซับลิเมชั่น

จะเห็นว่าอุปกรณ์ที่ต้องใช้หลัก ๆ หากไม่รวมขั้นตอนการออกแบบ ที่ไม่ว่าคุณจะวาดมือแล้วดราฟต์ลงคอมพิวเตอร์บนโปรแกรมที่รองรับ หรือดีไซน์ผ่านโปรแกรม Adobe Photoshop / Illustrator ก็ตาม หากเสร็จสิ้นจากการดีไซน์ มีลายที่คุณเตรียมพร้อม สั่งพิมพ์ลายออกมารอสกรีนไว้เรียบร้อยแล้ว อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเริ่มต้นธุรกิจมีเพียงแค่ 4 อย่างตามที่กล่าวไปข้างต้นเท่านั้น 

ซึ่งหากเป็นชุดเริ่มต้นธุรกิจที่คุณต้องการความครอบคลุมสักหน่อย ทำได้หลายแบบตั้งแต่เสื้อผ้า จนถึงงานเล็ก ๆ อย่างเคสโทรศัพท์มือถือ ใช้เงินทุนไม่ถึง 20,000 บาท ในส่วนของขั้นตอนนี้ และหากคุณต้องการลุยงานลายแก้วอย่างเดียว ใช้ทุนเริ่มต้นไม่เกินหมื่น แล้วอย่าลืมว่าหากลายต่าง ๆ ที่คุณออกแบบนั้นเป็นงานที่ยูนีคจริง ๆ ก็ยังสามารถเพิ่มมูลค่าได้มากกว่าของที่เป็นแบบเหมามาขาย แถมอยากจะดีไซน์แบบไหน ยังไง อุปกรณ์เพียงชุดเดียวพร้อมตอบสนองงานของคุณให้ออกมาเป็นจริงได้ทันทีไม่ต้องง้อโรงานสกรีนเสื้อเลย

ซับลิเมชั่น

ช่องทางขายสินค้าสมัยใหม่ พร้อมตอบโจทย์ธุรกิจในยุค โควิด-19

ยุคสมัยนี้เราไม่จำเป็นต้องเช่าแผงตามตลาด หรือต้องมีหน้าร้านที่ทำให้ต้องใช้ทุนเริ่มต้นมโหฬารแบบยุคก่อนแต่อย่างใด ตอนนี้มีช่องทางโซเชียลมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุค, อินสตราแกรม และ ติ้กต้อก ที่คุณใช้เป็นหน้าร้านออนไลน์ของคุณได้ อยากจะไลฟ์สดขายสินค้า หรือจะลงทุนยิงแอดเล็กน้อย ศึกษาเทคนิคการขายเพิ่มเติมจากอินเทอร์เนตแล้วบรรเลงได้เลย ส่วนในเรื่องของเทคนิคงานซับลิเมชั่นนั้น หากต้องการเริ่มต้นล่ะก็ เรามีไอเดียเจ๋ง ๆ แชร์ไว้เพียบ ลองดู!

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Texgraff.com และ tshirtprinterschool.com

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น, กระดาษรองรีด, สาระทั่วไป, หมึกซับลิเมชั่น, เครื่องรีดร้อน
14/07/2021

เทคนิค DIY ทำเคส iPhone ตามลายที่ต้องการด้วยซับลิเมชั่น

ในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 แบบนี้ คุณกำลังมองหาหนทางสร้างรายได้เพิ่มเติมจากอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วกันหรือเปล่า.. ลองดูเนื้อหาสาระที่ Bestsublimationthai.com นำมาฝากวันนี้ เผื่อจะเป็นไอเดียดี ๆ ไปต่อยอดกับสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ก็ได้นะ

เทคนิค DIY การทำเคส iPhone ตามลายที่ต้องการด้วยตัวคุณ แต่ก็ต้องบอกไว้ก่อนว่าหากคุณมีอุปกรณ์หลักต่าง ๆ ที่จำเป็น อย่างเช่นหากคุณทำสกรีนเสื้ออยู่แล้ว หรือมีเครืองรีดร้อนไว้ใช้ประโยชน์แบบใดก็ตามแต่ ซึ่งไอเดียนี้อาจสร้างประโยชน์และเพิ่มมูลค่าให้กับงาน DIY ที่อาจต่อยอดเป็นธุรกิจได้ในสถานการณ์แบบนี้ก็คงจะดีไม่น้อยเลยล่ะ

DIY ทำเงิน! วิธีทำเคส iPhone โดยเทคนิคซับลิเมชั่นง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง

เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า ซึ่งเทคนิคที่จะพาไปลองกันวันนี้ เราเจอมาจาก Youtube และเห็นว่าน่าสนใจดี เป็นการทำเคสลวดลายต่าง ๆ ที่คุณสามารถเบ่งบานจินตนาการของคุณผ่านดีไซน์บนสไตล์ที่เป็นคุณ อาจจะเริ่มด้วยตัวคุณเองก่อน ถ้ามีคนชมชอบจะไปต่อยอดเป็นธุรกิจเราก็เชื่อว่าน่าจะมีรายได้จากเทคนิคนี้เช่นกัน

อุปกรณ์ที่ใช้งานในคลิป

ขั้นตอน DIY เคส iPhone ด้วยเทคนิคซับลิเมชั่น

  1. เริ่มต้นเลย คุณจำเป็นต้องออกแบบลาย ดีไซน์ต่าง ๆ ผ่านโปรแกรมที่คุณถนัด ยกตัวอย่างเช่น Photoshop โดยทำขนาดให้ใหญ่กว่า iPhone เล็กน้อย คร่าว ๆ ก็ประมาณนี้ ซึ่งเราขออนุญาตข้ามขั้นตอนที่ว่าไปเลยแล้วกันนะ
  2. เช็คเครื่องปรินท์ เช็คหมึกให้เรียบร้อย ดูว่าที่กำลังจะใช้งานเป็นหมึกซับเมลิชั่นหรือเปล่า อ๋อ.. แล้วก็กระดาษซับลิเมชั่นด้วยนะ
  3. เปิดเครื่องรีดร้อนวอร์เครื่องเอาไว้ก่อน ตั้งความร้อนเอาไว้ที่ 356 องศาฟาเรนไฮต์
  4. จากนั้น เมื่อคุณจะทำการปรินท์ลายออกมาด้วยกระดาษซับลิเมชั่น ในคลิปได้แนะนำให้ตั้งค่าก่อนปรินท์ตรงหัวข้อ Media Type เป็นแบบ Premium Presentation Paper Matte
  5. ที่สำคัญคืออย่าลืมเลือกขนาดก่อนปรินท์ให้ตรงกันกับขนาดกระดาษซับลิเมชั่นที่เลือกซื้อมา พอตั้งค่าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เพื่อใช้งานได้สะดวกในครั้งต่อไป อย่าลืม Save การตั้งค่า Presets เอาไว้ด้วยล่ะ
  6. ทีนี้ เมื่อคุณได้ทำการปรินท์ลายลงบนกระดาษแล้ว ให้ทำการตัดกระดาษตรงส่วนที่มีลายอยู่ อาจเหลือพื้นที่โดยรอบไว้เล็กน้อย
  7. นำกระจกหลังเคสมาวางประกบกับลายบนกระดาษที่คุณได้เตรียมไว้ในข้อก่อนหน้า เล็งให้ตรงเช็คให้ดี จากนั้นติดเทปใส 4 มุม เพื่อไม่ให้ลายนั้นมีการขยับเขยื้อน
  8. ขั้นตอนสำคัญ : นำกระดาษรองรีดวางบนแท่นเครื่องรีดร้อนก่อน 1 ชั้น จากนั้นค่อยลายที่เราจะทำเคสลงไปวาง (ที่เตรียมเอาไว้ในข้อ 7) โดยเอาด้านที่มีลายน้ำคว่ำลง สุดท้ายแล้วเอากระดาษรองรีดอีกแผ่นมาวางทับอีกที
  9. กดเครื่องรีดร้อนทับลงมา ตั้งค่า 150 วินาที แล้วรอจนเสร็จสิ้น
  10.  เมื่อได้ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทำการแกะเทปออกแล้วนำไปประกอบกับเคสเปล่าที่คุณเตรียมไว้ ได้ออกมาเป็นเคสสุดปังในสไตล์ที่เป็นคุณ

ลายเคส iPhone สุดปังที่บ่งบอกตัวคุณ / รายได้เพิ่มเติมเสริมกำลังใจด้วยงาน DIY

แม้จะพูดได้ไม่เต็มปากว่าเป็นงาน DIY ทำเคส iPhone ที่สามารถทำกันเองได้ทุกคน แต่หากใครที่ทำธุรกิจแล้วมีอุปกรณ์ครบถ้วนตามแบบในคลิปก็สามารถลองทำดูได้ เพื่อจะแตกไลน์เป็นธุรกิจใหม่ของคุณใน่ชวงที่สถานการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยไม่สู้ดีนัก

หรือถ้าหากใครดูจบแล้วมองเห็นเป็นไอเดีย เป็นช่องทางทำเงิน สามารถนำไปลองใช้ดีไซน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวคุณเองได้ รับรองว่าไม่เสียเวลาแน่นอน

ส่วนเรื่องของอุปกรณ์ซับลิเมชั่นทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นกระดาษซับลิเมชั่น หมึกซับลิเมชั่น และกระดาษรองรีด มั่นใจคุณภาพของสินค้าของเราได้เลย พร้อมตอบโจทย์ทุกงานคุณภาพสูง รวมถึงงาน DIY ของคุณจะออกมาแสนสุดวิเศษได้ดังใจชัวร์ 100 เปอร์เซนต์

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น, กระดาษรองรีด, หมึกซับลิเมชั่น, เครื่องรีดร้อน
25/11/2013

เครื่องรีดร้อน คือ อุปกรณ์ในการเพิ่มความร้อน เพื่อให้หมึกระเหิดลงบนวัสดุ

การเลือกเครื่องรีดร้อนให้เหมาะสมกับงาน เพราะเครื่องรีดร้อนจำเป็นต้องมีความดัน อุณหภูมิ เวลา ที่เหมาะสมในการทำให้หมึกระเหิดลงบนวัสดุ เพื่อให้หมึกติดทนนานในเนื้อวัสดุ เครื่องให้ความร้อนทั่วไป เช่น เตารีด เตารีดไอน้ำ หรือ เครื่องรีดผ้าทั่วไป ไม่สามารถใช้ในการรีดร้อนได้ เนื่องจากความดัน อุณหภูมิ ไม่สามารถทำให้หมึกระเหิดได้ เครื่องรีดร้อนเราสามารถเลือกได้จาก กำลังไฟฟ้า กำลังความร้อน อุณหภูมิ ความสามารถในการรีดลงวัสดุ ขนาดของงาน จำนวนถาดในการรีดร้อน และระบบการทำงาน เครื่องทั่วไปที่นิยมใช้ในครัวเรือน อาจใช้เครื่องปั้มระบบที่ใช้มือกดเอง (Manual) แต่ถ้าเป็นโรงงานที่ใช้ในการผลิต ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องรีดร้อนที่มีกำลังความร้อนมากขึ้นและจำนวนถาดมากขึ้น เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน และมักจะใช้ระบบอัตโนมัติ (Automatic) ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องใช้มือกดเหมือนระบบที่ใช้มือกด (Manual) เพราะมีระบบนิวเมตริกในการกดรีดร้อนเอง

เครื่องรีดร้อน