ความแตกต่างระหว่างการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น และการพิมพ์แบบอื่นๆ
การพริ้นแบบซับลิเมชั่น VS การพิมพ์แบบไดเร็คดิจิตอล
การทำงานของไดเร็คดิจิตอล คือการพิมพ์วัสดุต่างโดยตรงจากเครื่องพิมพ์ ลงสู่วัสดุโดยตรง แต่การทำซับลิเมชั่นจะพิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์และทำมารีดร้อนลงวัสดุอีกที ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบในการทำงานแล้วจะดูเหมือนว่า การทำแบบซับลิเมชั่นจะมีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากกว่า แต่ในความจริงแล้วการพิมพ์ไดเร็คยังต้องทำการอบเคลือบหลังจากที่พิมพ์เสร็จ ซึ่งระบบนี้มีความสำคัญด้วย บางคนมีความเชื่อที่ว่าการพิมพ์ไดเร็คลงเสื้อเลย จะทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพดีกว่าการทำซับลิเมชั่น ในการพิมพ์แบบไดเร็คสามารถใช้หมึกทั่วไป หรือ หมึกพิเศษในการพิมพ์ได้ แต่ ผลที่ออกมาจะแตกต่างกัน ทั้งสี ความคมชัด และความติดทนนาน อีกทั้งการพิมพ์ไดเร็คยังมีขีดจำกัดในการพิมพ์วัสดุเนื่องจากการพิมพ์เราจะนำวัสดุเข้าไปพิมพ์โดยตรง อีกทั้งยังมีราคาสูงกว่าการทำซับลิเมชั่น และโอกาสที่งานออกมาจะเสียหายเกิดขึ้นได้มากกว่าการทำซับลิเมชั่น
การพริ้นแบบซับลิเมชั่น VS การสกรีนแบบบล็อกสกรีน
หลายคนเข้าใจว่าการพิมพ์โดยระบบดิจิตอลมีต้นทุนต่อรูปสูงกว่าการทำสกรีนแบบบล็อกสกรีน แต่ในความจริงแล้วการคิดต้นทุนในการสกรีนแบบบล็อกสกรีน เราไม่คิดถึงต้นทุนเรื่องเทคนิคต่างๆที่เราใช้ในการผลิตบล็อกออกมา รวมถึงเวลาที่เราต้องสูญเสีย และค่าแรงที่เกิดขึ้นในขณะการผลิตบล็อค ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เรายังไม่ทันได้สินค้าสักหนึ่งชิ้นเลย แต่การทำซับลิเมชั่นเป็นการพิมพ์งานโดยเฉพาะระบบดิจิตอล ซึ่งมีข้อได้เปรียบกว่า การทำสกรีนแบบบล็อกสกรีน ในหลายๆด้าน รวมถึงการปรับแต่งตามความต้องการของลูกค้า ทั้งในเรื่องสี ความคมชัด ความละเอียด ประหยัดเวลาในการทำงาน และค่าแรง จากแต่ก่อนการออกงาน หนึ่งชิ้น จะต้องมีระบบการทำงานหลายระบบ จะต้องลงสีในแต่ละครั้ง ต้องลงทั้งหมดกี่ครั้ง ต้องใช้ระยะเวลานานขนาดไหน ต้นทุนค่าแรงก็สูง ถึงจะได้สินค้า หนึ่งชิ้น แต่ในทางกลับกัน การพิมพ์งานด้วยระบบดิจิตอล สั่งงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องสามารถพริ้นได้ตลอดเวลา ในระยะงานที่สม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องใช้คนงานลงไปทำในทุกๆชิ้นงาน คนงานเพียงหนึ่งคนสามารถคุมเครื่องพริ้น ได้มากกว่าหนึ่งเครื่อง ซึ่งช่วยลดต้นทุน และทำให้ท่านสามารถควบคุมต้นทุนได้ โดย ณ จุดหนึ่งราคาของการทำซับลิเมชั่น สามารถแข่งขันกับการทำสกรีนได้ในตลาด
การพริ้นแบบซับลิเมชั่น VS การฮีตท์ทรานเฟอร์ (Heat Tranfer)
ในการเปรียบเทียบการทำงานของซับลิเมชั่น กับการฮีตท์ทรานเฟอร์ เปรียบสเหมือนการเปรียบเทียบระหว่าง การสัก กับ การติดรูปลอก ซึ่งการทำฮีตท์ทรานเฟอร์ คือ การพิมพ์ภาพลงบนกระดาษทรานเฟอร์ ซึ่งในกระดาษนั้น จะมีสารเคมี และ แว๊กซ์ ที่สามารถดูดซับและถ่ายโอนลงไปพื้นเสื้อได้โดยใช้ความร้อน โดยกระบวนการนี้หมึกจะไม่ได้ซึมผ่านเนื้อผ้า แต่เปรียบสเหมือนการนำสติ๊กเกอร์มาติดบนผิวหนัง เมื่อเวลาผ่านไปอาจมีการหลุดหลอก หรือรูปมีการแตกออกจากกัน ยิ่งมีการซัก รีด หรือผ่านแดดมากเท่าไร ความสามารถติดทนของสติ๊กเกอร์ก็หลุดได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกับการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น การพิมพ์แบบซับลิเมชั่นจะใช้ความร้อน ในความดัน อุณหภูมิ ที่เหมาะสม เพื่อให้หมึกระเหิดไปติดอยู่ในเส้นใยของเสื้อผ้า เปรียบสเหมือนการสักลงบนผิวหนัง ถ้าเราใช้มือลูบ โดยหลับตา เราจะไม่มีทางทราบเลยว่าที่จุดนั้น มีการลงสีไว้ เพราะสีเอง ได้ระเหิดและลงไปติดอยู่ด้านในแล้ว เพราะฉะนั้นสีจะติด คงทน ไม่ว่าจะซัก หรือ รีดไปสักกี่ครั้ง