ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพิมพ์แบบซับลิเมชั่นสามารถแบ่งออกได้หลัก 2 ประเภท คือ
1. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบในการพิมพ์ภาพ ซึ่งเกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
กระดาษ และ หมึก (ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในหัวข้อ
สิ่งจำเป็นในการพริ้นแบบซับลิเมชั่น)
2. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบในการรีดร้อน ซึ่งเกิดได้จาก 4 ปัจจัยย่อย คือ
อุณหภูมิ เวลา ความดัน และ วัสดุ โดยปัจจัยย่อยทั้งสี่ปัจจัย
มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1) อุณหภูมิ
ในการตั้งอุณหภูมิที่เครื่องรีดร้อน
จำเป็นต้องมีการตั้งค่าอุณหภูมิที่เหมาะสม ถ้าตั้งอ่อนเกินไป
ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการถ่ายโอนหมึก ถ่ายได้ไม่เต็มที่
สีอาจจะไม่ระเหิดไปติดที่เสื้อ แต่ยังคงติดอยู่บนกระดาษ
อาจทำให้สีที่รีดออกมาไม่สดเท่าความเป็นจริง ถ้าตั้งร้อนเกินไป
จะส่งกระทบกับวัสดุที่เราพิมพ์ได้
เพราะวัสดุแต่ละชนิดมีความสามารถในการทนความร้อนที่แตกต่างกัน โดยเฉลี่ย
อุณหภูมิ จะอยู่ที 180-240 องศาเซลเซียส
2) เวลา
ในการตอบเรื่องเวลาที่เหมาะสมในการรีดร้อน เป็นสิ่งที่ตอบได้ยาก
เพราะจะต้องคำนึงถึง ความร้อน และ วัสดุด้วย วัสดุบางชนิด ใช้เวลาเพียง 30
วินาที ในขณะที่วัสดุอีกประเภทอาจจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาถึง 90 วินาที
ถ้าผู้ใช้ รีดโดยใช้ระยะเวลาที่สั้น
ผลที่ออกมาก็คล้ายกับการรีดโดยใช้ความร้อนไม่ถึง คือ
สีที่ได้ออกมาไม่เต็มประสิทธิภาพ ยังคงมีสีติดค้างอยู่ในกระดาษ
ในทางกลับกัน หากผู้ใช้รีดในระยะเวลาที่นานเกิน
จะทำให้วัสดุนั้นได้รับความร้อนที่สูงเกินไป ถ้าเป็นผ้า
อาจทำให้เกิดรอยไหม้ได้ เปรียบเสมือนการรีดผ้า ถ้าผู้รีด รีดจนเรียบแล้ว
ยังคงปล่อยเตารีดไว้อย่างนั้น ผ้าจะไม่เรียบขึ้น แต่จะทำให้เกิดรอยไหม้แทน
ผู้ใช้บางคน มีความเข้าใจที่ว่า หากเรารีดให้นานสีจะยิ่งถ่ายได้มากขึ้น
ยิ่งนาน สียิ่งออก อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด
สีจะสามารถถ่ายโอนออกมาได้แค่ในปริมาณนึงเท่านั้น
ผู้ใช้สามารถสอบถามรายละเอียดกับและอุณหภูมิที่เหมาะสมกับผู้เชี่ยวชาญได้
หรือผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ด้วยต้นเอง โดยลองในระยะเวลา
และอุณหภูมิต่างๆกัน
3) แรงดัน
แรงดันคือความแรงที่เรากดเครื่องรีดร้อนลงบนวัสดุ เมื่อเรารีดร้อน
หมึกจะระเหิดผ่านกระดาษลงที่เนื้อวัสดุ
โดยปกติแล้วการทำซับลิเมชั่นใช้แรงดันในระบบปานกลางในส่วนใหญ่
คือแรงที่กดไม่หนักไป หรือ แรงไป โดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 35-45 psi
ถ้าแรงดันที่เรากดลงเบาเกิน
จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างกระดาษและวัสดุมากขึ้น
ทำให้ความสามารถในการระเหิดลดน้อยลง เนื่องจากในช่องว่างนั้น
มีอากาศแทรกอยู่ แต่อากาศนี้จะเป็นตัวกลางทำให้สีไม่ลงในจุดที่กำหนด
ทำให้ภาพเกิดมัว และไม่ชัดเจน ซึ่งการเกิดสีมัวในที่นี้
เราจะมีชื่อเรียกว่า Ghosting effectในทางกลับกัน ถ้าเรากดแรงเกินไป
อาจทำให้เนื้อวัสดุเสียหาย เช่นถ้าเราทำซับลิเมชั่นลงบนแผ่นกระเบื้อง
แรงที่เรากดไม่ควรหนักเกินไป มิฉะนั้น แผ่นกระเบื้องอาจจะแตกได้
4) วัสดุ
ในการเลือกวัสดุในการทำซับลิเมชั่น ผู้ใช้จำเป็นต้องคำนึงสิ่งแรกเลย
คือความสามารถในการทนความร้อนของวัสดุนั้น
อย่างที่ทราบว่าการทำซับลิเมชั่นมีกระบวนในการให้ความร้อนมาเกี่ยวข้อง
ซึ่งโดยเฉลี่ย ความร้อนจะร้อนสุด ไม่เกิน 240 องศาเซลเซียส ต่อเนื่องไม่เลย
90 วินาที ดังนั้น วัสดุที่ใช้ต้องสามารถมีความทนทานพอ
ที่จะให้หมึกระเหิดลงบนวัสดุได้
และวัสดุชิ้นนั้นต้องมีความสามารถในการดูดซับหมึกที่ระเหิดได้ เช่น ผ้า
ต้องมีใยธรรมชาติไม่ต่ำกว่า 50% ยิ่งมีส่วนประกอบของ โพลีเอสเตอร์ และ
ไนล่อนมากเท่าไร ยิ่งทำให้ความสามารถในการระเหิดมีมากขึ้น