26/12/2013

การสกรีนเสื้อ การทำบล็อกสกรีน สำหรับงานซับลิเมชั่นและกระดาษทรานเฟอร์

วันนี้ BestSublimationThai.com ขอนำเสนอบทความที่น่าสนใจบทความหนึ่ง เกี่ยวกับการสกรีนเสื้อ การทำบล็อกสกรีน ซึ่งเป็นการนำกระดาษทรานเฟอร์มา ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ สำหรับผู้อ่านที่สนใจอยากทำธุรกิจเสื้อยืด รับจ้างสกรีน หรืออยากทำเสื้อยืดสกรีนลายที่ออกแบบเองไว้ใส่คนเดียวก็สามารถทำได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจากเว็บไซต์ http://board.postjung.com/635210.html ขอขอบคุณสำหรับสาระดี ๆ 🙂
1. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น ต่อไปนี้

  • บล็อกสกรีนเสื้อเปล่า
  • ต้นแบบลาย อาจมาจากการออกแบบผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือภาพวาดต่าง ๆ
  • สติ๊กเกอร์
  • Art Knife
  • ลูกกลิ้งยาง
  • กระดาษกาว
  • เทปหนังไก่
  • แผ่นรองตัด

2. เอาต้นแบบลายมาตัดเป็นสติ๊กเกอร์ จากนั้นเอาไปติดกับสติ๊กเกอร์ แล้วจึงตัดตามแบบ

3. เมื่อตัดเสร็จแล้วก็จะได้ สติ๊กเกอร์ออกมา 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นลวดลาย (ส่วนที่ตัด) และส่วนที่เป็นกรอบ (ส่วนที่เหลือ)

4. นำส่วนที่เป็นกรอบมาติดลงบนบล็อกสกรีน

5. เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อไปนี้

  • ที่ปาดสี ใช้กระดาษลังตัดแล้วกระกบซ้อนกัน 2 ชั้น (ยางปาดสีที่เค้าใช้ในงานสกรีนจริงๆ ไซส์ เท่ากับกระดาษลังตัวนี้ ราคาประมาณอยู่ที่ 500+)
  • สีสกรีน
  • น้ำยาผสมสี
  • ถ้วยผสมสีสกรีน

2. ขั้นตอนการสกรีน

  1. เตรียมที่ปาด (สีแดงในรูป) และบล็อกลายสกรีนที่เตรียมไว้แล้วให้พร้อม
  2. ผสมสีในชามผสมแล้วเตรียมการเกลี่ยสี (โดยใช้ที่ปาด)
  3. เกลี่ย สีลงในบล็อกให้สม่ำเสมอโดยสังเกตุจากการที่สีลงไปอยู่บนเนื้อผ้าสกรีนเต็ม ทุกส่วน (ขั้นตอนนี้เราจะยังไม่ยุ่งเกี่ยวกับเสื้อหรือวัตถุที่เราจะสกรีน)
  4. เมื่อ เราเกลี่ยสีได้สม่ำเสมอแล้ว ให้นำบล็อกลงไปวางทาบที่เสื้อหรือวัตถุที่เราจะสกรีน (ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะสามารถวางได้ครั้งเดียว เนื่องจากสีที่เราปาดรอบแรกเพื่อเกลี่ยสีนั้น ส่วนหนึ่งได้ซึมผ่านบล็อกไปแล้ว)

3. ทำการปาดสี โดยปาดเข้าหาตัวและปาดไปในทิศทางเดียวกันซ้ำอีก 1-2 ครั้ง โดยไม่ต้องเพิ่มสีอีก
4. เอาไดร์เป่าผมเป่าลมร้อนที่ลายสกรีนประมาณ 5 นาที แล้วนำเสื้อไปผึ่งลมทิ้งไว้ จนกว่าสีจะแห้ง เป็นอันเสร็จ

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
23/12/2013

กระบวนการถ่ายโอนความร้อน (Iron-on transfers)

กระบวนการถ่ายโอนความร้อน (Iron-on transfers) หรือเรียกว่าการทำฮีตท์ทรานเฟอร์ (Heat Transfer) คือ การพิมพ์ภาพลงบนกระดาษทรานเฟอร์ ซึ่งโดยปกติแล้วในกระดาษทรานเฟอร์นั้น จะมีสารเคมีและแว๊กซ์ ที่สามารถดูดซับและถ่ายโอนภาพในการพิมพ์ลงไปบนพื้นผิวเสื้อโดยการใช้ความร้อน ซึ่งมักจะพบในการสกรีนเสื้อยืด การสกรีนหมายเลขผู้เล่นของชุดกีฬา เป็นต้น ซึ่งกระบวนการนี้หมึกจะไม่ได้ซึมผ่านเนื้อผ้า แต่เปรียบสเหมือนการนำสติ๊กเกอร์มาติดบนผิวหนัง เมื่อเวลาผ่านไปอาจมีการหลุดลอก หรือรูปมีการแตกออกจากกัน ซึ่งแตกต่างกับการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น การพิมพ์แบบซับลิเมชั่นจะใช้ความร้อน ในความดัน อุณหภูมิ ที่เหมาะสม เพื่อให้หมึกระเหิดไปติดอยู่ในเส้นใยของเสื้อผ้า ซึ่งทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ แต่ในแง่เชิงพาณิชย์ กระบวนการถ่ายโอนความร้อนยังเป็นวิธีที่นิยมในธุรกิจขนาดเล็ก เพราะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า และมีขั้นตอนการทำงานที่ง่าย อีกทั้งยังสามารถสร้างลวดลายได้ตามใจชอบ และสามารถทำได้บนผ้าฝ้ายแบบ 100% อีกด้วย
ปัจจุบันมีเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท หรือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เป็นจำนวนหลายแบรนด์ที่ได้รับการพัฒนาให้สามารถสนับสนุนงานในกระบวนการถ่ายโอนความร้อนได้ เช่น แอปเปิ้ล, HP, ซีร็อกซ์, แคนนอน เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Iron-on

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
20/12/2013

กระดาษทรานเฟอร์คืออะไร?

กระดาษทรานเฟอร์

กระดาษทรานเฟอร์คืออะไร? กระดาษทรานเฟอร์ คือกระดาษประเภทหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และงานฝีมือต่าง ๆ ด้านการพิมพ์ภาพลงบนวัตถุใด ๆ เช่น การสกรีนเสื้อ การลอกลายลงบนพื้นผิววัสดุต่าง ๆ หรือที่เราพบเห็นทั่วไปตามท้องตลาดคือ การสกรีนลายเคสโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ความร้อนเป็นสื่อกลางในกระบวนการทำงานการถ่ายโอนภาพลงบนผืนกระดาษ ผืนผ้าใบ หรือพื้นผิวใด ๆ ที่สามารถพิมพ์ได้ ซึ่งกระดาษทรานเฟอร์สามารถนำมาใช้เพื่อสร้างสรรค์งานพิมพ์เหล่านี้ได้ หรือเรียกงานพิมพ์ประเภทนี้ว่า iron-ons (iron-ons คืออะไร คลิก) และในปัจจุบันกระดาษทรานเฟอร์สำหรับใช้ในการสกรีนเสื้อมีอยู่หลายประเภท โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. กระดาษทรานเฟอร์อิงค์เจ็ท
กระดาษทรานเฟอร์สำหรับเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท ซึ่งจะไม่สามารถพิมพ์สีขาวได้ ดังนั้นสำหรับพื้นผิวที่มีสีขาว หากมีการถ่ายโอนความร้อนลงสู่พื้นผิวนั้นแล้วนั้น ภาพที่แสดงให้เห็นจะคล้ายกับการมองภาพผ่านกระจกเงา แต่สำหรับพื้นผิวที่มีสีเข้มจะทำงานตรงข้ามกัน

กระดาษทรานเฟอร์

2. กระดาษทรานเฟอร์ซับลิเมชั่น
สำหรับกระดาษทรานเฟอร์ซับลิเมชั่น ถูกนำมาใช้ในการย้อมผ้า จำพวกผ้าโพลีเอสเตอร์ โพลีคอตตอน ไมโครไฟเบอร์ ไนลอน เป็นต้น โดยกระบวนการพิมพ์นี้ สีหมึกจะแปลเปลี่ยนเป็นก๊าซ แต่จะไม่ผ่านขั้นตอนที่เป็นของเหลวไป ซึ่งกระบวนการนี้หมึกจะมีความคงทนและยึดเกราะสูง จึงสามารถนำมาใช้ในงานฝีมือ อาทิเช่น งานเซรามิก งานไม้ แก้ว หรือโลหะ เป็นต้น

3. กระดาษทรานเฟอร์เลเซอร์
กระดาษทรานเฟอร์สำหรับเครื่องพิมพ์เลเซอร์ กระบวนการทำงานจะคล้ายคลึงกับกระบวนการพิมพ์แบบอิงค์เจ็ท แต่เลเซอร์จะมีความคมชัด และรวดเร็วกว่า เพราะหลักการทำงานของเครื่องพิมพ์เลเซอร์คือการให้ความร้อน ในการหลอมละลายผงหมึก เพื่อฉาบลงไปบนกระดาษ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะยึดเกาะบนเนื้อผ้าได้ด้วยตัวมันเอง การยึดเกาะยังต้องอาศัยฟิลม์ (โพลิเมอร์) เป็นตัวช่วยเช่นเดียวกับกระดาษทรานเฟอร์อิงค์เจ็ท ดังนั้นกระดาษทรานเฟอร์แบบเลเซอร์จึงคงต้องมีชั้นฟิลมม์โพลิเมอร์เคลือบอยู่เช่นเดียวกัน

อ่านรายละเอียดของการพิมพ์กระดาษทรานเฟอร์ในแบบต่าง ๆ เพิ่มเติม คลิก

ขอบคุณข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Transfer_paper และ www.กระดาษทรานเฟอร์.com

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
25/11/2013

ความแตกต่างระหว่างการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น และการพิมพ์แบบอื่นๆ

การพริ้นแบบซับลิเมชั่น VS การพิมพ์แบบไดเร็คดิจิตอล
การทำงานของไดเร็คดิจิตอล คือการพิมพ์วัสดุต่างโดยตรงจากเครื่องพิมพ์ ลงสู่วัสดุโดยตรง แต่การทำซับลิเมชั่นจะพิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์และทำมารีดร้อนลงวัสดุอีกที ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบในการทำงานแล้วจะดูเหมือนว่า การทำแบบซับลิเมชั่นจะมีความยุ่งยาก ซับซ้อนมากกว่า แต่ในความจริงแล้วการพิมพ์ไดเร็คยังต้องทำการอบเคลือบหลังจากที่พิมพ์เสร็จ ซึ่งระบบนี้มีความสำคัญด้วย บางคนมีความเชื่อที่ว่าการพิมพ์ไดเร็คลงเสื้อเลย จะทำให้งานที่ออกมามีประสิทธิภาพดีกว่าการทำซับลิเมชั่น ในการพิมพ์แบบไดเร็คสามารถใช้หมึกทั่วไป หรือ หมึกพิเศษในการพิมพ์ได้ แต่ ผลที่ออกมาจะแตกต่างกัน ทั้งสี ความคมชัด และความติดทนนาน อีกทั้งการพิมพ์ไดเร็คยังมีขีดจำกัดในการพิมพ์วัสดุเนื่องจากการพิมพ์เราจะนำวัสดุเข้าไปพิมพ์โดยตรง อีกทั้งยังมีราคาสูงกว่าการทำซับลิเมชั่น และโอกาสที่งานออกมาจะเสียหายเกิดขึ้นได้มากกว่าการทำซับลิเมชั่น 

การพริ้นแบบซับลิเมชั่น VS การสกรีนแบบบล็อกสกรีน
หลายคนเข้าใจว่าการพิมพ์โดยระบบดิจิตอลมีต้นทุนต่อรูปสูงกว่าการทำสกรีนแบบบล็อกสกรีน แต่ในความจริงแล้วการคิดต้นทุนในการสกรีนแบบบล็อกสกรีน เราไม่คิดถึงต้นทุนเรื่องเทคนิคต่างๆที่เราใช้ในการผลิตบล็อกออกมา รวมถึงเวลาที่เราต้องสูญเสีย และค่าแรงที่เกิดขึ้นในขณะการผลิตบล็อค ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เรายังไม่ทันได้สินค้าสักหนึ่งชิ้นเลย แต่การทำซับลิเมชั่นเป็นการพิมพ์งานโดยเฉพาะระบบดิจิตอล ซึ่งมีข้อได้เปรียบกว่า การทำสกรีนแบบบล็อกสกรีน ในหลายๆด้าน รวมถึงการปรับแต่งตามความต้องการของลูกค้า ทั้งในเรื่องสี ความคมชัด ความละเอียด ประหยัดเวลาในการทำงาน และค่าแรง จากแต่ก่อนการออกงาน หนึ่งชิ้น จะต้องมีระบบการทำงานหลายระบบ จะต้องลงสีในแต่ละครั้ง ต้องลงทั้งหมดกี่ครั้ง ต้องใช้ระยะเวลานานขนาดไหน ต้นทุนค่าแรงก็สูง ถึงจะได้สินค้า หนึ่งชิ้น แต่ในทางกลับกัน การพิมพ์งานด้วยระบบดิจิตอล สั่งงานโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องสามารถพริ้นได้ตลอดเวลา ในระยะงานที่สม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องใช้คนงานลงไปทำในทุกๆชิ้นงาน คนงานเพียงหนึ่งคนสามารถคุมเครื่องพริ้น ได้มากกว่าหนึ่งเครื่อง ซึ่งช่วยลดต้นทุน และทำให้ท่านสามารถควบคุมต้นทุนได้ โดย ณ จุดหนึ่งราคาของการทำซับลิเมชั่น สามารถแข่งขันกับการทำสกรีนได้ในตลาด 

การพริ้นแบบซับลิเมชั่น VS การฮีตท์ทรานเฟอร์ (Heat Tranfer)
ในการเปรียบเทียบการทำงานของซับลิเมชั่น กับการฮีตท์ทรานเฟอร์ เปรียบสเหมือนการเปรียบเทียบระหว่าง การสัก กับ การติดรูปลอก ซึ่งการทำฮีตท์ทรานเฟอร์ คือ การพิมพ์ภาพลงบนกระดาษทรานเฟอร์ ซึ่งในกระดาษนั้น จะมีสารเคมี และ แว๊กซ์ ที่สามารถดูดซับและถ่ายโอนลงไปพื้นเสื้อได้โดยใช้ความร้อน โดยกระบวนการนี้หมึกจะไม่ได้ซึมผ่านเนื้อผ้า แต่เปรียบสเหมือนการนำสติ๊กเกอร์มาติดบนผิวหนัง เมื่อเวลาผ่านไปอาจมีการหลุดหลอก หรือรูปมีการแตกออกจากกัน ยิ่งมีการซัก รีด หรือผ่านแดดมากเท่าไร ความสามารถติดทนของสติ๊กเกอร์ก็หลุดได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งแตกต่างกับการพิมพ์แบบซับลิเมชั่น การพิมพ์แบบซับลิเมชั่นจะใช้ความร้อน ในความดัน อุณหภูมิ ที่เหมาะสม เพื่อให้หมึกระเหิดไปติดอยู่ในเส้นใยของเสื้อผ้า เปรียบสเหมือนการสักลงบนผิวหนัง ถ้าเราใช้มือลูบ โดยหลับตา เราจะไม่มีทางทราบเลยว่าที่จุดนั้น มีการลงสีไว้ เพราะสีเอง ได้ระเหิดและลงไปติดอยู่ด้านในแล้ว เพราะฉะนั้นสีจะติด คงทน ไม่ว่าจะซัก หรือ รีดไปสักกี่ครั้ง

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
25/11/2013

การเลือกใช้พริ้นเตอร์สามารถเลือกใช้ได้จากขนาดของวัสดุ

หากผู้ใช้ต้องการภาพในขนาด A4 หรือ A3 ผู้ใช้สามารถใช้พริ้นเตอร์ขนาดทั่วไปที่เราใช้ในการพริ้นงาน ซึ่งเครื่องพริ้นพวกนี้จะมีการแก้ไขดัดแปลงโดยมีการติดตั้งแทงค์ด้านนอกตัวเครื่อง เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการเติมหมึก เครื่องพริ้นเตอร์จำพวกนี้ส่วนใหญ่จะเป็นยี่ห้อ Epson ซึ่งเครื่องพริ้นยี่ห้อมีแตกต่างบริเวณหัวเข็มแตกต่างจากยี่ห้ออื่น หากผู้ใช้งานต้องการงานที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ หรือ พริ้นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่านี้ ผู้ใช้สามารถใช้เครื่องพริ้นอิงค์เจ็ทที่มีขนาดใหญ่มากกว่า เครื่องพริ้นพวกนี้สามารถพริ้นงานได้ที่หน้ากว้าง กว้างกว่า ขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่อง ส่วนหมึกที่ใช้จำเป็นจะต้องเป็นหมึกเฉพาะ

หมึกซับลิเมชั่น
25/11/2013

เครื่องรีดร้อน คือ อุปกรณ์ในการเพิ่มความร้อน เพื่อให้หมึกระเหิดลงบนวัสดุ

การเลือกเครื่องรีดร้อนให้เหมาะสมกับงาน เพราะเครื่องรีดร้อนจำเป็นต้องมีความดัน อุณหภูมิ เวลา ที่เหมาะสมในการทำให้หมึกระเหิดลงบนวัสดุ เพื่อให้หมึกติดทนนานในเนื้อวัสดุ เครื่องให้ความร้อนทั่วไป เช่น เตารีด เตารีดไอน้ำ หรือ เครื่องรีดผ้าทั่วไป ไม่สามารถใช้ในการรีดร้อนได้ เนื่องจากความดัน อุณหภูมิ ไม่สามารถทำให้หมึกระเหิดได้ เครื่องรีดร้อนเราสามารถเลือกได้จาก กำลังไฟฟ้า กำลังความร้อน อุณหภูมิ ความสามารถในการรีดลงวัสดุ ขนาดของงาน จำนวนถาดในการรีดร้อน และระบบการทำงาน เครื่องทั่วไปที่นิยมใช้ในครัวเรือน อาจใช้เครื่องปั้มระบบที่ใช้มือกดเอง (Manual) แต่ถ้าเป็นโรงงานที่ใช้ในการผลิต ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องรีดร้อนที่มีกำลังความร้อนมากขึ้นและจำนวนถาดมากขึ้น เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน และมักจะใช้ระบบอัตโนมัติ (Automatic) ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องใช้มือกดเหมือนระบบที่ใช้มือกด (Manual) เพราะมีระบบนิวเมตริกในการกดรีดร้อนเอง

เครื่องรีดร้อน
25/11/2013

กระดาษเปรียบเสมือนตัวกลางในการถ่ายเทหมึกจากเครื่องพิมพ์ลงไปสู่วัสดุ

กระดาษที่เราใช้มีชื่อเรียกหลายชื่อ บางคนเรียกว่า กระดาษทรานเฟอร์ (Transfer Paper) กระดาษซับลิเมชั่น (Sublimation Paper) หรือบางคนอาจจะเรียกสั้นๆว่า กระดาษซับ กระดาษที่ใช้ในการถ่ายเทหมึก จริงๆแล้วมีหลากหลายชนิด มีความแตกต่างกัน ทั้งน้ำหนัก (แกรม) ขนาดของกระดาษ ซึ่งกระดาษแต่ละประเภทจะมีความสามารถในการถ่ายเทแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่เราต้องการถ่ายเท

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น
21/07/2013

ระบบสี CMYK ของหมึกซับลิเมชั่น คืออะไร ?

ระบบสี CMYK ของหมึกซับลิเมชั่น คืออะไร ?

หลายท่านที่ใช้งานเครื่องพิมพ์หรือปริ้นเตอร์ในงานซับลิเมชั่น แน่นอนว่าต้องเคยไปเลือกซื้อหมึกซับลิเมชั่นหรือเปลี่ยนกันบ่อย ๆ ใช่ไหมค่ะ ^^ และเคยสงสัยไหมค่ะว่า “CMYK” คืออะไร วันนี้เราจะมาอธิบายกันว่า CMYK คืออะไรค่า

ระบบสี CMYK ของหมึกซับลิเมชั่น เป็นระบบสีที่หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าคือระบบสีที่ประกอบอยู่ในหมึกซับลิเมชั่น ประกอบไปด้วยสีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. C cyan (ฟ้าอมเขียว)
2. M magenta (แดงอมม่วง)
3. Y yellow (เหลือง)
4. K key (ดำ)

สีทั้ง 4 นี้เชื่อหรือไม่คะว่า เมื่อนำมาผสมกันตามแต่ละสี สลับไปสลับมา จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสีเลยล่ะค่ะ สามารถนำมาใช้ในการพิมพ์สีต่าง ๆ ในงานซับลิเมชั่น ซึ่งปกติการเลือกใช้สีนั้น จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบคือ CMYK และ RGB (Red, Green, Blue) ทั้ง 2 แบบนี้ สามารถแบ่งแยกประเภทการใช้งานได้ คือ ถ้าเป็นสีที่ต้องพิมพ์ออกมา ไม่ว่าจะพิมพ์ในรูปแบบใดก็ตาม จะต้องใช้ค่าสีของ CMYK แต่ถ้าต้องการสีที่แสดงผลออกทางหน้าจอ จะใช้ RGB เท่านั้น

ปัจจุบันหลักการดังกล่าวยังมีผู้มีความเข้าใจในส่วนนี้น้อยมาก เนื่องจากว่า นักออกแบบมือใหม่ เวลาต้องการจะทำงานประเภทสิ่งพิมพ์ รวมถึงงานซับลิเมชั่นในขั้นตอนการออกแบบ ก็มักตั้งค่าสีเป็น RGB เพราะว่าค่าสีดังกล่าวสีสดกว่า (เมื่อมองจากทางจอคอมพิวเตอร์) แต่เมื่อสั่งพิมพ์แล้ว ทำให้ค่าสีที่ออกมาผิดเพี้ยน มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสีที่เลือก เช่น เลือกสีแดง อาจจะได้สีชมพู เหลือสีม่วง อาจจะได้สีน้ำเงิน ดังนั้นผู้ที่ใช้โหมดสีควรจะทำความเข้าใจของงานให้มาก เพื่องานที่ออกมาจะได้ค่าสีที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากการกำหนดค่าสี RGB สามารถเลือกได้ถึง 2 สี – 16 ล้านสี (ข้อมูลอ้างอิงจากกระทรวงศึกษาธิการ หลักสูตรการศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปี 2545) โดยการเข้ารหัสสี สามารถเลือกเฉดสีได้ด้วยลักษณะของชุดรหัสตัวเลข 0-9 และ A-F ปนกันไปจนครบ 6 ตัวอักษรเท่านั้น เช่น 000000 = สีดำ FFFFFF = สีขาว FF0000 = สีแดง ดังนั้น ผู้ใช้สี สามารถกำหนดสีได้ต่างๆ มากมาย โดยใช้ตัวอักษรปะปนกันไป เพราะสามารถสร้างรูปแบบหรือกำหนดสีได้มากกว่า 16 ล้านรูปแบบ เช่น AC01B22, 522AA6, F2D3A0 โดยชุดดังกล่าวจะเป็นสีต่างๆ เพียงแค่กฎการใช้ คือใช้ตัวเลขใด ๆ ก็ได้ 0-9 แต่ต้องไม่เกิน 6 ตัวอักษร แต่ถ้าจะมีอักษรภาษาอังกฤษผสมด้วย ก็สามารถเอามาใช้ได้ แต่จะเลือกใช้ได้ตั้งแต่ A, B, C, D, E และ F เท่านั้น (นับตั้งแต่ตัว G ขึ้นไปจะไม่สามารถประเมินผลได้)

ในส่วนของ CMYK จะใช้หลักการเลือกสีรูปแบบเดียวกับ RGB แต่ว่าค่าสีจะถูกตัดออกไปเป็นจำนวนเยอะมาก ทำให้มีค่าสีอยู่แค่หลักร้อย หรือ พันกว่าสีเท่านั้น โดยที่ค่าสีของ CMYK จะตัดค่าสีที่ตาเรามองไม่เห็น หรือไม่สามารถแยกแยะออกถึงความใกล้เคียงกันมาเกินไปได้ อย่างในกรณีของใบไม้ ที่เราอาจจะมองว่าเป็นสีเขียว แต่ถ้าจะให้ระบุสีในใบไม้เดียวกันให้ใกล้เคียงที่สุด อาจจะได้คำตอบที่เป็น สีเขียว, เขียวแก่, เขียวแก่กว่า, เขียวอ่อน, เขียวอมเหลือง ฯลฯ เพราะในสายตาคนเรามักจะมองรูปแบบสีหลักๆ เท่านั้น ดังนั้นปัญหาเรื่องของสีโหมด CMYK จึงจะตัดค่าสีที่ห่างกันไม่มากออกไปเพียงเท่านั้น ทั้งหมดนี้จึงเป็นคำตอบว่าเพราะอะไร เมื่อสั่งพิมพ์ภาพลงกระดาษทรานเฟอร์ในงานซับลิเมชั่น ด้วยการเลือกโหมดสีของขั้นตอนการออกแบบจากโปรแกรมในคอมพิวเตอร์เป็น CMYK แล้ว ทำให้ได้สีสันที่สดใส สมจริง และไม่ผิดเพี้ยน โดยเฉพาะเมื่อใช้หมึกซับลิเมชั่นคุณภาพดี ยิ่งทำให้งานที่ได้มีคุณภาพมากตามไปด้วย

ขอบคุณบทความบางส่วนจาก http://th.wikipedia.org

หมึกซับลิเมชั่น
22/01/2013

กระดาษทรานเฟอร์ กับ รอยสัก

จากบทความต่าง ๆ ที่ Bestsublimationthai.com นำเสนอไปที่ผ่านมา เพื่อน ๆ ผู้อ่านคงพอจะทราบกันดีเเล้วว่ากระดาษทรานเฟอร์มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และสามารถนำไปใช้ทำอะไรได้บ้าง โดยเท่าที่ทราบกันงานหลัก ๆ ของเจ้ากระดาษทรานเฟอร์นั้น ก็คือนำไปใช้ประโยชน์ในการสกรีนเสื้อ การลอกลายลงบนหรือวัสดุพื้นผิวอื่น ๆ ที่รองรับ แต่ยังมีงานบางสิ่งที่กระดาษทรานเฟอร์พระเอกของเราสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งนั่นก็คือ……..งานศิลปะด้าน Tattoo หรือเป็นการนำกระดาษทรานเฟอร์ไปใช้เพื่อทำสติ๊กเกอร์รอยสักนั่นเองค่ะ

สติกเกอร์รอยสัก หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสติกเกอร์ Tattoo รูปลอกน้ำ เป็นสติกเกอร์ที่มีลวดลายสัญลักษณ์หรือรูปภาพต่าง ๆ ที่ถูกออกแบบไว้ และนำมาใช้ติดกับผิวหนังโดยตรง โดยการพิมพ์ภาพ จะต้องพิมพ์ภาพหรือลวดลายเหล่านั้น รวมถึงตัวหนังสือในลักษณะย้อนกลับ (Mirror-Image) บนกระดาษทรานเฟอร์ และเวลาที่ใช้จะต้องคว่ำลาย Tattoo ติดกับผิวหนัง จากนั้นชโลมน้ำให้ชุ่ม แล้วรอสักครู่เพื่อให้กาวของสติกเกอร์แยกตัวออกจากกระดาษทรานเฟอร์ จากนั้นจึงค่อย ๆ แกะส่วนที่เป็นกระดาษรองหลังออก เป่าสติกเกอร์ให้แห้ง เพียงเท่านี้คุณจะได้ภาพรอยสักที่สวยงาม

ขอขอบคุณเว็บไซต์ http://www.empress.co.th/new/products/Tattoo/content.htm และ Google.com สำหรับตัวอย่างภาพสติกเกอร์ Tattoo สวย ๆ ค่ะ
ในบทความนี้จะขอเกริ่นพอให้ท่านผู้อ่านทราบถึงประโยชน์อีกอย่างของกระดาษทรานเฟอร์กันเพียงเท่านี้ก่อนค่ะ และสำหรับในบทความต่อไป Bestsublimationthai.com จะขอนำเสนอวิธีการทำสติกเกอร์ Tattoo จากกระดาษทรานเฟอร์ด้วยตัวคุณเอง น่าสนใจมาก ๆ อย่าลืมติดตามนะคะ

กระดาษทรานเฟอร์ & กระดาษซับลิเมชั่น